ก้าวสำคัญของไทยบนเวทีระดับโลก ชูการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยวัฒนธรรมThumbnail div not found.ไทยปักหมุดชูบทบาทวัฒนธรรมนำการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ Agenda 21 for Culture เดินหน้าจับมือองค์กรขับเคลื่อนวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนระดับโลก United Cities and Local Governments – UCLG ร่วมพัฒนาเมืองต้นแบบ Thailand Culture 21 Best Practice ผลักดันสู่การประกวดเวทีระดับโลก International Award UCLG - Culture 21 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรรม พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร มหาวิทยาลัยศิลปากร และ RoamingElephants.com จัดประชุมสัมมนาเพื่อสร้างความร่วมมือกับสหพันธ์เมืองและรัฐบาลท้องถิ่นระหว่างประเทศ ( United Cities and Local Governments – UCLG ) ซึ่งเป็นองค์กรขับเคลื่อนบทบาทวัฒนธรรมนำการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายใต้มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยการประชุมที่จัดขึ้นนับเป็นครั้งแรกของไทยในฐานะประเทศสมาชิก นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า “นับเป็นก้าวแรกของประเทศไทยในฐานะสมาชิก UCLG ที่จะได้ปักหมุดแสดงจุดยืนบนเวทีโลกอย่าง Culture 21 เพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพความพร้อมของไทยในการเชิดชูคุณค่า และบทบาทวัฒนธรรมมาขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน และเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับสากล ทั้งนี้ประเด็นด้านวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในที่ประชุมนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2021 โดยมีมติเห็นชอบให้ผนวกรวมวัฒนธรรมร่วมอยู่ในวาระแห่งการพัฒนาระดับโลก คือการร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ Agenda 21 for Culture หรือที่เรียกว่า “Culture 21” มติดังกล่าวเป็นการยอมรับถึงบทบาทของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในหลายมิติ เช่น การท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมสร้างสรรค์, การพัฒนาเมืองและพื้นที่, แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ตลอดจนการพัฒนาสินค้าชุมชน
ปัจจุบัน Agenda 21 for Culture หรือที่เรียกว่า “Culture 21” มี UCLG เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อน ชูบทบาทด้านวัฒนธรรมนำการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยในขณะนี้มีสมาชิกกว่า 140 ประเทศทั่วโลก โดยในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียก็ล้วนเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย UCLG และได้รับรางวัลจากเวทีวัฒนธรรมระดับโลกนี้ทั้งสิ้น “ในฐานะที่เรามีวัฒนธรรรมที่รุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน ได้รับการยอมรับในระดับโลก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องแสดงศักยภาพเชิงวัฒนธรรมไทย ในมิติการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเวทีระดับโลกด้วยเช่นกัน” “ในการสัมมนาครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการสร้างความร่วมมือกับ UCLG ไม่เพียงเป็นการแสดงพลังความพร้อม และเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการขับเคลื่อน Agenda 21 for Culture อย่างเป็นรูปธรรม หากยังช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยวัฒนธรรม ตามแนวทาง Agenda 21 for Culture และสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายในระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ” อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกล่าว
ผศ.ดร. จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ผู้ก่อตั้ง Roaming Elephants แพลตฟอร์มขับเคลื่อนการท่องเที่ยวยั่งยืนของไทย ในฐานะหัวหน้าโครงการและผู้ประสานงาน UCLG ในประเทศไทย กล่าวว่า “ รางวัล UCLG-CULTURE 21 International Award จัดขึ้นเพื่อยกย่องโครงการและนโยบายทางวัฒนธรรมที่นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน การได้รับรางวัล International Award UCLG – Mexico City – Culture 21 เป็นการแสดงจุดยืนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนโดยใช้มิติด้านวัฒนธรรมตามหลักสากลที่มุ่งให้เห็นความตั้งใจในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้คน รางวัลนี้เป็นใบเบิกทางสู่ตลาดการค้ากับภาคเอกชนทั่วโลกตามกรอบ แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) และช่วยเสริมสมรรถนะให้พื้นที่/เมืองที่ได้รับรางวัล ให้พร้อมทำงานกับตลาดการค้าในสหภาพยุโรปที่เข้มงวดการตรวจสอบความรับผิดชอบด้านความยั่งยืนตามข้อบังคับ EU Directive on Corporate Sustainability Due Diligence หลังจากการสัมมนาในครั้งนี้ โครงการจะเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ เสนอรายชื่อเมืองหรือชุมชนที่มีศักยภาพพร้อมเข้าสู่กระบวนการพัฒนาต่อยอดเพื่อคัดเลือก Thailand Culture 21 Best Practice เป็นต้นแบบ เพื่อผลักดันสู่การประกวดรางวัลระดับโลก International Award UCLG - Culture 21 ในปี 2025 ต่อไป สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมกับ UCLG ในครั้งนี้ประกอบด้วยคณะที่ปรึกษาของโครงการจาก กรมการท่องเที่ยว, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรมการพัฒนาชุมชน, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน), องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน), สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย, สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย, สมาคมนักผังเมืองไทย, ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) และมหาวิทยาลัยศิลปากร ตลอดจนเครือข่ายชุมชนวัฒนธรรมทั่วประเทศ จอร์ดี ปาสกาล ผู้ประสานงานคณะกรรมการวัฒนธรรม agenda 21 ของ UCLG กล่าวว่า “การริเริ่มโครงการ Thailand Culture 21 Best Practice เป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและการเพิ่มขีดความสามารถของรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะร่วมกันส่งเสริมนวัตกรรม ความยืดหยุ่น และการเติบโตที่ครอบคลุมในเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อให้แน่ใจว่าเมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายในอนาคต” ติดตามความคืบหน้าโครงการได้ที่ |